คณะศิลปกรรมศาสตร์

วิชาเอก/สาขา

ศิลปะการแสดง

       เป็นสาขาที่เน้นเนื้อหาการเรียนการสอนทางด้านละครเวทีทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริงตลอด 4 ปีการศึกษา โดยจะแบ่งเป็นอีก 2 เอกย่อย 
  • เอกการแสดงและการกำกับการแสดง เน้นสอนในเรื่องของงานเบื้องหน้า เช่น ทักษะการแสดง การเคลื่อนไหวร่างกาย การพูด การออกเสียง การกำกับการแสดงละครเวที
  • เอกการออกแบบเพื่อการแสดง เน้นสอนในเรื่องของงานเบื้องหลัง เช่น การออกแบบฉากละครเวที การออกแบบเครื่องแต่งกายละครเวที การออกแบบแสงสำหรับละครเวที

ทัศนศิลป์

       สาขาทัศนศิลป์เรียนเกี่ยวกับการสร้างผลงานศิลปะในหลากหลายเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นทักษะ Drawing Painting การปั้น ภาพพิมพ์ หรือการนำมาทำเป็นสื่อผสม จิตรกรรม  เซรามิกส์ ทฤษฎีศิลป์ สามารถแบ่งออกไปเป็น 3 เอก ได้แก่ เอกจิตกรรม เอกเซรามิก และเอกสื่อผสม

ศิลปศึกษา

       เกี่ยวกับศิลปะและวิชาชีพครู ไม่ว่าจะเป็นทางจิตวิทยา การเขียนแผนการสอนและ การนำแผนการสอนไปใช้สอนจริง ๆ และวิชาทางด้านศิลปะก็จะเรียนเกี่ยวกับการวาดเส้น โดยจะสอนตั้งแต่พื้นฐานศิลปะแขนงต่าง ๆ โดยเมื่อเรียนจบปีการศึกษา ปี 1 และปี 2 จะมีการออกสังเกตการและฝึกสอนตามโรงเรียน  

นาฏศิลป์ศึกษา

       เรียนเกี่ยวกับนาฏศิลป์พื้นฐาน นาฏศิลป์ไทยและสากล สร้างสรรค์นาฏศิลป์เพื่อการสอน และมีวิชาศึกษาเกี่ยวกับความเป็นครูเพื่อนำไปใช้ในอนาคตหลังจบการศึกษา การละครเพื่อการศึกษา การวิจัยทางการสอนนาฎศิลป์ไทย ให้นิสิตมีความสามารถในการบูรณาการความรู้ เนื้อหาวิชา หลักสูตรศาสตร์การสอนและเทคโนโลยีดิจิทัลในการ จัดการเรียนรู้ตามวิชาเอกโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และมีการฝึกปฏิบัติการสอนตามโรงเรียน

นาฏศิลป์สร้างสรรค์
และการจัดการ

          ประกอบด้วย 2 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกนาฏศิลป์ไทยและวิชาเอกนาฏศิลป์สากล มีลักษณะการ   บูรณาการระหว่างศาสตร์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการแสดงและนาฏศิลป์ โดยนิสิตจะได้เรียน เพื่อสามารถสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ทั้งในส่วนของเบื้องหน้าและเบื้องหลัง มีการเรียนในด้านทฤษฎีและเน้นการปฏิบัติงานจริงผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นโดยสาขาวิชา

ดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย

          ในสาขาวิชานี้ จะเรียนเป็นหลักสูตร กศบ. 4 ปีหรือการศึกษาบัณฑิต โดยหลัก ๆ นิสิตที่เข้าเรียนสาขาวิชานี้จะต้องเรียนเกี่ยวกับดนตรีไทยเป็นหลัก โดยจะมีแนวทางการศึกษาโดยรวมดังนี้ วิชาพื้นฐานของการเป็นครู เรียนดนตรีพิเศษต่าง ๆ ที่ภาควิชาเรามีคือ ดนตรีเอเชีย (กู่เจิง กลองทับบรา ฆ้องกระเหรี่ยง และกาเมรัน) อีกทั้งยังมีดนตรีพื้นบ้าน ฆ้องวง เครื่องสาย และปี่พาทย์ อีกทั้งยังมีวิชาซ่อมสร้าง การปรับวงและดนตรีเอเชียศึกษา ในส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องของการสังเกตการสอน สุดท้ายจะต้องฝึกสอนตามโรงเรียน

ดุริยางคศาสตร์สากล

          ประกอบด้วย 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร กศ.บ. คือ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต เรียนครูโดยตรง เครื่องมือเอกคือ เปียโน และหลักสูตร ศป.บ คือ ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต เรียนเครื่องมือเอกโดยตรง เรียนจบสามารถเป็นศิลปิน โปรดิวเซอร์ คอมโพสเซอร์ ซาวด์เอนจิเนียร์ รวมไปถึงงานเบื้องหลังต่าง ๆ ได้ ทั้ง 2 หลักสูตร เรียน 4 ปี เท่ากัน

ออกแบบสื่อสาร

       เรียนเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้อื่น ส่วนใหญ่จะเป้นงานกราฟิก ซึ่งต้องใช้โปรแกรมต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานขึ้น โดยตลอดทั้ง 4 ปี เริ่มจากการปูพื้นฐานเบื้องต้น การถ่ายรูป อินทีเรีย ออกแบบแบรนด์ เริ่มตั้งแต่การตลาดไปถึงการคุมงานดีไซน์  โมชัน ทำ Ae พื้นฐาน ตัดต่อภาพ ภาพประกอบ ซิกเนเจอร์ดีไซน์ ปั้น 3D พื้นฐานการใช้ Cinema4D ออกแบบตัวอักษร มาสคอต เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสาร) การถ่ายรูป การจัดตั้งธุรกิจ (Startup) การทําวิจัย และการออกแบบสื่อ 

นวัตกรรมการจัดการศิลปวัฒนธรรม

          ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในรูปแบบ 2 ภาษา ซึ่งเนื้อหาจะเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาจัดการกับศิลปวัฒนธรรมให้เข้ากับยุคสมัยและกระแสในปัจจุบัน ดึงดูดให้ผู้คนสนใจมากขึ้น แต่ยังคงแก่นของศิลปวัฒธรรมเอาไว้เช่นเดิม โดยจะเรียนวิชาที่เป็นการจัดการ และมีวิชาเลือกที่เป็นวิชาการสร้างแบรนด์ วิชาการจัดการศิลปิน เรียนรู้การระดมทุนเพื่อจัดงานศิลปวัฒนธรรม การจัดการบริหารงานเพื่อการทำธุรกิจในอุตสาหกรรม และจัดการอีเวนท์ทางศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ในส่วนของวิชาเลือกคือการตลาดออนไลน์กับการจัดแสง สี เสียงเพื่อการแสดง

ออกแบบทัศนศิลป์

เป็นสาขาที่เรียนทางด้านการออกแบบสิ่งของที่จับต้องได้ เป็นรูปธรรม โดยจะมีเอกย่อยทั้งหมด 3 วิชาเอก โดยทุกเอกจะได้เรียนตั้งแต่พื้นฐานการออกแบบ กระบวนการคิดงาน การขึ้น 3D เรียนรู้เรื่องของการตลาด และเทรนด์ที่กำลังมาในขณะนั้น รวมไปถึงการลงมือทำชิ้นงานต่าง ๆ ตลอดการเรียน 4 ปี ได้แก่
  • วิชาเอกออกแบบผลิตภัณฑ์เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานทำโมเดล พื้นฐานการสเก็ตผลิตภัณฑ์ กระบวนการในการออกเเบบ ทัศนธาตุพื้นฐาน การทำแบรนด์  ปั้น 3D ออกแบบภายใน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การนำเสนอวัฒนธรรม การสร้างสไตล์ การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน การวิจัยและพัฒนาทางการออกแบบวิทยานิพนธ์ 
  • วิชาเอกออกแบบแฟชันเรียนตั้งแต่พื้นฐานการออกแบบ การวาดหุ่น พื้นฐานการตัดเย็บ การสร้างแบบตัดด้วยกระดาษเบื้องต้น การสร้างแบบตัดเย็บจากผ้า (เดรปปิง) พื้นฐาน การสร้างแพทเทิร์น เรียนรู้การจัดการการตลาด การนำวัสดุมาทดลองทำเป็นแมททีเรียลใหม่ ๆ การสร้างเทคนิครายละเอียดตกแต่งบนผืนผ้า การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและสร้างมู้ดบอร์ด แนวโน้มกระแสการออกแบบกระแสนิยม การออกแบบ accessory การบริหารจัดการองค์กร การสร้างแบรนด์ คุณสมบัติดีไซน์เนอร์(กฎหมาย) และการออกแบบแฟชั่นนิพนธ์ รวมถึงการจัดการแฟชั่นโชว์ 
  • วิชาเอกออกแบบเครื่องประดับเรียนปรับพื้นฐานการวาดหลักการสร้างความคิดสร้างสรรค์ หลักการร่างภาพการออกแบบเครื่องประดับแต่ละประเภท การคิดแรงบันดาลใจในการออกแบบเครื่องประดับ การเขียนแบบเครื่องประดับ ภาพทัศนียภาพ ภาพ 3 มิติ กลยุทธ์การตลาด การจำแนกประเภทและชนิดของอัญมณี รูปแบบการเจียระไน การออกแบบจากภูมิปัญญาไทย การขึ้นรูปต้นแบบเครื่องประดับด้วยแว็กซ์ เรียนจิวแคท การฝึกถ่ายเครื่องประดับ เรียนเรื่องการออกแบบกระเป๋า รองเท้า

ข้อมูลการรับนิสิตใหม่

ช่องทางการติดต่อ

คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เลขที่ 114 ซ.สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

โทร 0 2260 0123

Solverwp- WordPress Theme and Plugin