Faculty of Humanities
จบแล้วทำอะไร?
- สาขาวิชาจิตวิทยา
- บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพเป็นนักจิตวิทยา นักวิจัย นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น โรงพยาบาล มูลนิธิ สถานสงเคราะห์ ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ในมหาวิทยาลัย และบริษัทที่จัดตั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการของมนุษย์ เป็นต้น และสามารถประกอบอาชีพเป็นเลขานุการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ฝ่ายขาย/การตลาด ฝ่ายบริการลูกค้า ในองค์กรธุรกิจเอกชน ต่างๆ ได้ รวมถึงการประกอบอาชีพอิสระ โดยนำความรู้ทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพของตนเอง เช่น การเปิดสถานรับเลี้ยงเด็กเนอร์สเซอรี หรือ การทำธุรกิจส่วนตัวอื่นๆ เป็นต้น
- สาขาวิชาภาษาไทย
- หลักสูตรนี้สร้างขึ้นเพื่อให้นิสิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น นักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัยทางภาษาไทย นักเขียน นักวิจารณ์ บรรณาธิการ นักสื่อสารมวลชน มัคคุเทศก์ ล่าม ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น รวมทั้งการประกอบอาชีพอิสระตามความถนัดของตน
- สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก
- ด้านการผลิตหนังสือสำหรับเด็ก
- เป็นผู้สร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน เช่น นักเขียน นักแปล นักวาดภาพประกอบ เจ้าหน้าที่ฝ่ายศิลป์ กองบรรณาธิการหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน กองบรรณาธิการหนังสือสำหรับผู้ใหญ่
- ด้านการศึกษา
- เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ทั้งโรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนนานาชาติ ตลอดจนเป็นครูผู้สอนในสถาบันต่างๆ ของเอกชนเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน เช่น สถาบันสอนภาษาไทย อังกฤษ สถาบันพัฒนาเด็กด้านต่างๆ
- ด้านการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก
- เป็นนักจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก นักเล่านิทาน นักแสดงละครสำหรับเด็ก
- ด้านการสื่อสารมวลชน
- เป็นนักเขียนบทละครโทรทัศน์ บทละครเวที บทสารคดีโทรทัศน์ และพิธีกร เป็นทีมงานศึกษาค้นคว้าข้อมูลแก่บริษัทรับจัดนิทรรศการ
- ด้านศิลปะสร้างสรรค์
- เป็นนักออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ออกแบบเกมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก และสื่ออื่นๆ
- ด้านการผลิตหนังสือสำหรับเด็ก
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อได้หลากหลาย เช่นการทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ บริษัทข้ามชาติ หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตำแหน่งงานที่บัณฑิตสามารถปฏิบัติงานได้ เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่สถานทูต พนักงานสายการบิน พนักงานฝ่ายเลขานุการประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวและสำนักพิมพ์ เป็นต้น
- บัณฑิตสามารถประกอบวิชาชีพเฉพาะเช่น ครูและมัคคุเทศก์เมื่อได้รับรองใบประกอบอาชีพนั้นๆ
- บัณฑิตมีพื้นฐานความรู้ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อปริญญาโท ทั้งในสาขาวิชาภาษาอังกฤษและสาขาวิชาอื่นๆ
- สาขาวิชาภาษาเพื่ออาชีพ (หลักสูตรนานาชาติ)
- นักธุรกิจ นักการตลาด เลขานุการ เจ้าหน้าที่บุคคล หรือฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรต่างประเทศ นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ พนักงานบริการ พนักงานบริหารการขายธนาคาร ล่ามเชิงธุรกิจ พนักงานองค์กร ธุรกิจระหว่างประเทศ
- พนักงานต้อนรับของสายการบิน พนักงานการโรงแรมที่มีสาขาในต่างประเทศ โรงแรมในเครือ ต่างประเทศ พนักงานการท่องเที่ยว นักวางแผนและจัดงาน ผู้ให้บริการในองค์การที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
- นักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ดำเนินรายการ พิธีกร นักประชาสัมพันธ์ นักจัดรายการวิทยุ ประกาศรายการโทรทัศน์ นักข่าว นักเขียนเชิงสร้างสรรค์ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทันสมัยหรืองานอื่นๆ ที่ใช้ความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษและ/หรือภาษาที่สาม
- สาขาวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ)
- 1. วิชาเอกภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
- 2. วิชาเอกภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน
- 3. วิชาเอกภาษาอังกฤษและภาษาเวียดนาม
- 4. วิชาเอกภาษาอังกฤษและภาษาเขมร
- นักธุรกิจ นักการตลาด เลขานุการ เจ้าหน้าที่บุคคล หรือฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรต่างประเทศ นักโฆษณาประชาสัมพันธ์ พนักงานบริการ พนักงานบริหารการขายธนาคาร ล่ามเชิงธุรกิจ พนักงานองค์กร ธุรกิจระหว่างประเทศ
- พนักงานต้อนรับของสายการบิน พนักงานการโรงแรมที่มีสาขาในต่างประเทศ โรงแรมในเครือ ต่างประเทศ พนักงานการท่องเที่ยว นักวางแผนและจัดงาน ผู้ให้บริการในองค์การที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาที่ 3 ในการสื่อสาร
- นักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ดำเนินรายการ พิธีกร นักประชาสัมพันธ์ นักจัดรายการวิทยุ ประกาศรายการโทรทัศน์ นักข่าว นักเขียนเชิงสร้างสรรค์ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทันสมัยหรืองานอื่นๆ ที่ใช้ความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษและ/หรือภาษาที่สาม
- สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา
- รับราชการ
- พนักงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล
- นักสื่อสารมวลชน
- นักเขียน
- นักโฆษณา
- นักประชาสัมพันธ์
- พนักงานฝ่ายบริหารจัดการ
- พนักงานขายและการตลาด
- พนักงานฝ่ายบริการ
- อาชีพอิสระ
- สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา
- หลักสูตรนี้ได้ออกแบบไว้เพื่อให้บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ ตลอดจนการทำงานที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่น อาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักวิชาการสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ นักจดหมายเหตุ เป็นต้น
- สาขาวิชาภาษาตะวันออก
- ทำงานในวงการการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย
- พนักงานสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เช่น ล่าม นักแปล มัคคุเทศก์
- ทำงานด้านสื่อสารมวลชนหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์
- เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศหรือกระทรวงการต่างประเทศ
- พนักงานทั้งภาครัฐและเอกชน
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (5 ปี)
- ครูสอนภาษาไทยระดับปฐมวัยศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และครูการศึกษานอกโรงเรียน
- นักวิจัยทางด้านการศึกษาภาษาและการสอนภาษาไทย
- นักวิชาการทางด้านภาษาไทยและวิธีสอนภาษาไทย
- นักวิชาชีพทางการศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา
- นักพัฒนาสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษาภาษา
- ผู้จัดโครงการส่งเสริม พัฒนาและบริการทางการศึกษา
- นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บุคลากร ฝึกอบรม
- ผู้จัดการเรียนรู้ศูนย์สำหรับเด็กตามช่วงวัยต่าง ๆ
- อาชีพอื่น ๆ ในหน่วยงาน/องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
- หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (5 ปี)
- ด้านวิชาชีพครู/วิชาการ
- ครูสอนภาษาอังกฤษระดับปฐมวัยศึกษา ครูระดับประถมศึกษา ครูระดับมัธยมศึกษา และครูการศึกษานอกโรงเรียน
- นักวิจัยทางด้านการศึกษาภาษาและการสอนภาษาอังกฤษ
- นักวิชาการทางด้านภาษาอังกฤษและวิธีสอนภาษาอังกฤษ
- นักวิชาชีพทางการศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา
- ด้านพัฒนาวิชาการ
- นักพัฒนาสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษาภาษา
- ผู้จัดโครงการส่งเสริม พัฒนาและบริการทางการศึกษา
- นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บุคลากร ฝึกอบรม
- ด้านบริการวิชาการ
- ผู้จัดการเรียนรู้ศูนย์สำหรับเด็กตามช่วงวัยต่างๆ
- อาชีพอื่น ๆ ที่ใช้ความรู้ความสามารถทางภาษอังกฤษในหน่วยงาน/องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
- ด้านวิชาชีพครู/วิชาการ
3 Comments